รุ้งกินน้ำกลับหัว เหตุอาเพศ หรือแค่ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
รุ้งกินน้ำกลับหัว
รุ้งกลับหัว เหตุอาเพศ หรือ แค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปกติเราจะเห็นรุ้งกินน้ำในลักษณะโค้งคว่ำ แต่เมื่อมีรุ้งกินน้ำเกิดขึ้นในลัษณะหงาย บ้างก็ว่าเป็นรางร้าย บ้างก็ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น เรามารู้จัก รุ้งกินน้ำกลับหัว กันให้ลึกขึ้นอีกนิคดีกว่า
รายละเอียด รุ้งกินน้ำกลับหัว
รุ้งกลับหัว เหตุอาเพศ หรือ แค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปกติเราจะเห็นรุ้งกินน้ำในลักษณะโค้งคว่ำ แต่เมื่อมีรุ้งกินน้ำเกิดขึ้นในลัษณะหงาย บ้างก็ว่าเป็นรางร้าย บ้างก็ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น เรามารู้จัก รุ้งกินน้ำกลับหัว กันให้ลึกขึ้นอีกนิคดีกว่า
รายละเอียด รุ้งกินน้ำกลับหัว
- รุ้งกินน้ำกลับหัว ไม่ใช่เหตุอาเพศอะไร เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่มีขบวนการเกิดที่แตกต่างจากรุ้งกินน้ำธรรมดา
- รุ้งกินน้ำกลับหัว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โค้งอาร์คเซอคัมซีนิทธัล(Circumzenithal arc มีชื่อย่อ CZA) หรือ Bravais' Arc
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีลักษณะเป็นโค้งวงกลมไม่เต็มวง(เกิดเพียง 1 ใน 4 ของวงกลม) โดยมีจุดศูนย์กลางของรุ้งอยู่ที่จุด zenith(จุดสูงสุดของฟ้า ปกติก็อยู่กลางหัวของเรา)
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะเกิดในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีน้ำเงินอยู่ด้านในโค้ง แล้วไล่ออกมาเรื่อยๆโดยด้านนอกสุดจะเป็นสีแดง
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีสันสดใสกว่ารุ้งปกติ เนื่องจากสีที่ซ้อนทับกันน้อยกว่า
- รุ้งกินน้ำทั่วไปเกิดจากการที่แสงอาทิตย์หักเหกับละอองน้ำ แต่ รุ้งกินน้ำกลับหัว นั้นเกิดจากการที่แสงหักเหกับผลึกน้ำแข็งในเมฆ cirrus clouds โดย แสงอาทิตย์ที่วิ่งผ่าน ผลึกน้ำแข็งจะวิ่งมาในแนบราบ ผ่านด้านเรียบของผลึกน้ำแข็ง แล้วหักเหออกบริเวณข้างของปริซึมน้ำแข็ง
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะเกิดเฉพาะเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นทำมุม กับแนวราบน้อยกว่า 32.2 องศา เท่านั้น เนื่องจากเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นสูงกว่า 32.2 องศาแสงที่ผ่านด้านบนของผลึกน้ำแข็งจะหักเหออกด้านล่างแทนด้านข้าง ทำให้แสงที่หักเหออกมาแทบจะไม่เกิดสี
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีสันสดใสที่สุดเมื่อพระอาทิตย์ทำมุม 22 องศา 3 ลิบดา เนื่องจากเป็นมุมเบี่ยงเบต่ำสุด ของ แสงเข้าและออก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น